รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2216
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 18/5/2554
ชื่อเรื่องไทย ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอังกฤษ THE ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF STAFF IN MAHARAJ NAKHONRATCHASIMA HOSPITAL
ชื่อผู้วิจัยหลัก เสาวลักษณ์ รำเพยพล
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
สุรชาติ ณ หนองคาย
วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล
ธนินทร์ อัศววิเชียรจินดา
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2547
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร, ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ด้านลักษณะงาน ด้านความสัมพันธ์ระว่างบุคคลและการทำงานในองค์การกับความผูกพันต่อองค์การซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการกำหนดนโยบายและแผนบริหารตลอดจนประกอบการตัดสินใจในการจัดการสู่องค์การมีสุขภาพดี ธำรงรักษาบุคลากร,บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขและรักองค์การ โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามบุคลากรทุกหน่วยประชากรทั้งสิ้น 368 คน

ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 72.27 เมื่อพิจารณาตามสาขาวิชาชีพพบว่า แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บุคลากรส่วนใหญ่ร้อยละ 81.8 มีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูงถึงสูงมากและมีบุคลากรเพียงร้อยละ 1.1 เท่านั้นที่มีความผูกพันต่อองค์การต่ำ ด้านปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ลักษณะงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการทำงานในองค์การ พบว่า มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านความมีอิสระในการทำงาน และความยุติธรรมในระบบการพิจารณาความดีความชอบบุคลากรมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเรียงลำดับปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การเพิ่มขึ้น 5 อันดับแรก ได้แก่ รายได้ การมีคุณค่าในตัวเอง สวัสดิการบัตรสุขภาพตนเองและครอบครัว ความก้าวหน้าในอาชีพ และบรรยากาศการทำงาน

จึงมีข้อเสนอแนะว่าโรงพยาบาลควรปรับปรุงด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่อง ความมีอิสระในการทำงานและความยุติธรรมในระบบการพิจารณาความดีความชอบ เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน ประกอบกับการมีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่โปร่งใส เหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดบรรยากาศในการทำงานที่พึงปรารถนาของบุคลากรในโรงพยาบาลและสามารถนำมาใช้เป็นนโยบายพัฒนาองค์การที่มุ่งเน้นผู้รับบริการอย่างแท้จริง

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อวัดระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร, ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ด้านลักษณะงาน ด้านความสัมพันธ์ระว่างบุคคลและการทำงานในองค์การกับความผูกพันต่อองค์การ
 
    พิมพ์หน้านี้