รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2217
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 18/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันชนิดติดแน่น คลินิกทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเรื่องอังกฤษ COST AND EFFECTIVENESS ANALYSIS IN ORTHODONTIC TREATMENT WITH FIXED APPLIANCES IN ORTHODONTIC CLINIC, FACULTY OF DENTISTRY, MAHIDOL UNIVERSITY
ชื่อผู้วิจัยหลัก สุกานดา โสดามุก
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สุคนธา คงศีล
สุทธิ เจริญพิทักษ์
นิวัต อนุวงศ์นุเคราะห์
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2547
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลการรักษาทางทันตกรรม

จัดฟันชนิดติดแน่น ของคลินิกทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้นทุน

วิเคราะห์ในมุมมองของผู้ให้บริการ ปีงบประมาณ 2548 โดยศึกษาตามองค์ประกอบต้นทุน คือ ต้นทุนดำเนินการ และต้นทุนการลงทุน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ กลุ่มประชากร ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่แฟ้มประวัติ การรักษา แบบพิมพ์ฟันและฟิล์ม panoramic ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเสร็จสมบูรณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2531-2548 ที่มีอายุก่อนการรักษาระหว่าง 12-18 ปี และมีลักษณะการสบฟันผิดปกติชนิดที่1 จำนวน 47 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลตามองค์ประกอบต้นทุนและแบบบันทึกข้อมูลประสิทธิผลตามเกณฑ์ของ American Board of Orthodontics สำหรับระดับประสิทธิผลที่ใช้ในการวิจัยนี้กำหนดไว้ 3 ระดับ คือ ระดับดี น้อยกว่า 20 คะแนน ยอมรับ 21-30 คะแนน และไม่ยอมรับ มากกว่า 30 คะแนน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การทดสอบเปรียบเทียบตัวแปรอิสระ โดยใช้ t-test การวิเคราะห์ความไวเป็นการดำเนินการเพื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรหลักที่มีผลกระทบต่อผลการวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันชนิดติดแน่นของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเสร็จสมบูรณ์ด้วยวิธีการรักษาแบบ Closing loop mechanics เท่ากับ 36,810.04 บาทต่อราย ระยะเวลาการรักษาโดยเฉลี่ย 32.61 เดือน และแบบ Sliding mechanics เท่ากับ 35,985.30 บาทต่อราย ระยะเวลาการรักษาโดยเฉลี่ย 34.36 เดือน โดยมีระดับประสิทธิผลของวิธีการรักษาแบบ Closing loop mechanics และแบบ Sliding mechanics เท่ากับ 28.52 + 4.71 และ 26.50 + 5.60 ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างของประสิทธิผลการรักษาระหว่างวิธีการรักษาแบบ Closing loop mechanics และ Sliding mechanics (p = 0.21)

ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการนำกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรไปใช้ในการลดต้นทุน

โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคล ควรให้มีชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม รวมทั้งควรพยายามลดระยะเวลาการรักษาคนไข้เสร็จสมบูรณ์ต่อรายลง สำหรับการปรับปรุงคุณภาพการรักษา อาจารย์ทันตแพทย์ควรจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการควบคุมในส่วนของ marginal ridge และ contact point ก่อนที่จะอนุญาตให้นักศึกษาถอดเครื่องมือให้กับคนไข้

URL
วัตถุประสงค์

เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลการรักษาทางทันตกรรม

จัดฟันชนิดติดแน่น ของคลินิกทันตกรรมจัดฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
 
    พิมพ์หน้านี้