รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2218
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 18/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข ในเขตภาคกลาง
ชื่อเรื่องอังกฤษ THE WASTEWATER TREATMENT PLANT MANAGEMENT OF COMMUNITY HOSPITAL, MINISTRY OF PUBLIC HEALTH IN CENTRAL REGION
ชื่อผู้วิจัยหลัก สุรเดช ประดิษฐบาทุกา
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สมชาติ โตรักษา
ประยูร ฟองสถิตย์กุล
ธวัชชัย วรพงศธร
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2547
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30-60 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตภาคกลางที่ตั้งอยู่ตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ยกเว้น กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ จำนวน 33 โรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2547 โดยใช้แบบสอบถาม 4 ชุด ที่ได้ทดสอบความตรงตามโครงสร้างและเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว และมีค่าความเที่ยงมากกว่า 0.7 นำไปสอบถามผู้อำนวยการโรงพยาบาลซึ่งรับผิดชอบระบบบำบัดน้ำเสีย นักวิชาการสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนผู้ดูแลควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย คนงานผู้ปฏิบัติงานประจำวัน และประชาชนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง และทำการวิเคราะห์คุณภาพตัวอย่างน้ำทิ้งของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านผู้บริหาร ด้านผู้ดูแลควบคุม และด้านคนทำงานประจำในงานระบบบำบัดน้ำเสีย กับปริมาณน้ำเสียที่บำบัดได้ ค่าบีโอดี ความพึงพอใจของผู้บริหาร ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติ และความพึงพอใจของประชาชน โดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้นแบบขั้นตอน นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์สวอทจากข้อมูลปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการ และผลที่ได้ของข้อมูลการวิจัย เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาล

ผลการวิจัย พบว่าการบำบัดน้ำเสียมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 24 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร ประชาชนยินดีเสียค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เฉลี่ยคนละ 10 บาทต่อวัน ปริมาณการเกิดน้ำเสีย 40±33 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ปริมาณน้ำเสียที่บำบัดได้เป็นร้อยละ 97 ของปริมาณน้ำเสียของโรงพยาบาลทั้งหมด ค่าบีโอดีของน้ำทิ้งมีค่าเฉลี่ย 20.78±14.72 มก./ลิตร ผู้บริหาร ผู้ดูแลควบคุม คนงาน และ ประชาชนมีค่าความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานการบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาล เฉลี่ย 3.5, 3.7, 3.3 และ 3.6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 ตามลำดับ และพบว่าวิธีการ (เทคนิคและการปฏิบัติ) และความพอเพียงของวัสดุอุปกรณ์มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของคนทำงานประจำ (p<0.005) โดยมีค่า R2 = 0.797 ได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลชุมชน โดยการจัดสัมมนาและนิเทศงาน ให้ความรู้และเทคนิควิธีปฏิบัติแก่ผู้ปฏิบัติงาน หาเงินรายได้เพิ่ม ใช้วัสดุอุปกรณ์ให้คุ้มค่าอย่าง

เหมาะสม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาล

URL
วัตถุประสงค์ ศึกษาการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30-60 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตภาคกลางที่ตั้งอยู่ตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ยกเว้น กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
 
    พิมพ์หน้านี้