รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2219
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 18/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนาแบบบันทึกการวางแผนจำหน่ายและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่อง งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอังกฤษ THE DEVELOPMENT OF IN-PATIENT DISCHARGE PLANNING AND REFERRAL FOR CONTINUING CARE FORM AT KANTHARALAK HOSPITAL, SRISAKET
ชื่อผู้วิจัยหลัก วนัฏฐา บุตะโลม
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ภูษิตา อินทรประสงค์
จรรยา ภัทรอาชาชัย
ปิติสุข ไกรทัศน์
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบบันทึกการวางแผน

จำหน่ายและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่อง งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษระยะเวลาในการวิจัยตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2546 ถึง 28 ธันวาคม 2546 การดำเนินงานมีการ วัดผลก่อน และหลังการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึกและแบบสอบถามความพึงพอใจในแบบบันทึกการวางแผนจำหน่ายและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่อง ในด้านความถูกต้อง ความครบถ้วน ความชัดเจน และความกระทัดรัด สำหรับพยาบาลในหอผู้ป่วย 3 แห่ง และพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างคือMc Nemar Test และPair –t Test ที่ระดับนัยสำคัญ = 0.05

ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมคุณภาพการบันทึกในแบบบันทึกหลังดำเนินการกับก่อนดำเนิน

การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ส่วนภาพรวมความพึงพอใจของพยาบาลในหอผู้ป่วยที่มีต่อแบบบันทึกหลังดำเนินการกับก่อนดำเนินการ พบว่าแตกต่างกันในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และการจัดลำดับความแตกต่างความพึงพอใจพบว่ามีความถูกต้องเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือด้านความชัดเจนและความครบถ้วนและน้อยที่สุดในด้านความกระทัดรัด ส่วนภาพรวมความพึงพอใจของพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีต่อแบบบันทึกหลังดำเนินการกับก่อนดำเนินการ พบว่าแตกต่างกันในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และการจัดลำดับความแตกต่างความพึงพอใจพบว่ามีความชัดเจนเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือด้านความถูกต้องและความครบถ้วนและน้อยที่สุดในด้านความกระทัดรัด

ข้อเสนอแนะ: โรงพยาบาลน่าจะกำหนดเป็นนโยบายในการบันทึกการจำหน่ายและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่อง โดยมีการประสานงานกับสถานีอนามัยในเครือข่าย และควรจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการบันทึกแต่ละแผนก กลุ่มงานการพยาบาลควรจัดให้มีการปฐมนิเทศสำหรับเจ้าหน้าที่ที่จบใหม่หรือเจ้าหน้าที่ ที่ย้ายมาปฏิบัติงานใหม่ ในเรื่องการบันทึกการวางแผนจำหน่ายและส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่อง ตลอดจนมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในเรื่องการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยแบบสหวิชาชีพ เพื่อให้บุคลากรสาขาอื่น ๆ ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยด้วย

URL
วัตถุประสงค์

พัฒนาแบบบันทึกการวางแผน

จำหน่ายและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่อง งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
 
    พิมพ์หน้านี้