รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2221
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 18/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนางานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546
ชื่อเรื่องอังกฤษ DEVELOPMENT OF EMERGENCY NURSING SERVICE IN BANGKOK CHRISTIAN HOSPITAL, CHURCH OF CHRIST IN THAILAND, 2003
ชื่อผู้วิจัยหลัก ขวัญจิตร์ มั่นศักดิ์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สมชาติ โตรักษา
พีระ ครึกครื้นจิตร
ยุทธศักดิ์ ตั้งสุขสันต์
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ

หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินต้องให้การบริการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วยอย่างกะทันหันที่อยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและฉับไว ซึ่งถ้าผู้รับบริการไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที หรือไม่ถูกต้อง จะส่งผลทำให้ผู้รับบริการเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือเกิดความพิการได้ปัญหาเกี่ยวกับงานบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีมากมาย ทั้งในด้านปริมาณงาน คุณภาพงานเวลา และ ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง งานให้การบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จึงเป็นงานที่มีความสำคัญและสมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ป่วย ก่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งต่อผู้มาใช้บริการ ต่อผู้ปฏิบัติงาน และต่อผู้บริหาร ผู้วิจัยจึงทำวิจัยปฏิบัติ

การกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่ม เปรียบเทียบก่อนกับหลังการพัฒนางาน โดยนำหลักวิชาการต่าง ๆ มาประยุกต์ในการสร้างรูปแบบการดำเนินงานใหม่ของงานบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน แล้วนำไปทดลองใช้เป็นเวลา 3 เดือนในโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน โดยให้หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเซ็นหลุยส์เป็นกลุ่มควบคุม เปรียบเทียบผลการดำเนินงานในด้าน ปริมาณงาน คุณภาพงาน ความพึงพอใจ เวลา และ ค่าใช้จ่าย ด้วยค่าสถิติแมนวิทนี ยู และ ค่าสถิติ ที ที่ระดับ แอลฟา = 0 .05

ผลการวิจัยพบว่า หลังนำรูปแบบใหม่ไปดำเนินการ มีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรก่อนเริ่มปฏิบัติงานสูงขึ้น (p < 0.001) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องสูงขึ้น (p < 0.001) ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารับบริการในหน่วยงานจนกระทั่งได้พบแพทย์ลดลง (p < 0.001) ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่เป็นค่าลงทุนด้านบุคลากร แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการดำเนินงานการบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ทดลอง เนื่องจากมีระบบงานที่ชัดเจน ถูกต้องตามหลักวิชาการ และมีวิธีการนำรูปแบบไปดำเนินการที่ดี เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง ได้เสนอแนะให้มีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และควรนำประสบการณ์ที่ได้ในการทำวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ทั้งงานบริการผู้ป่วยฉุกเฉินและงานอื่น ๆ ของโรงพยาบาลต่อไป

URL
วัตถุประสงค์

พัฒนางานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546

 
    พิมพ์หน้านี้