รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2224
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 18/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนางานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี สำ นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอังกฤษ THE DEVELOPMENT OF EMERGENCY SERVICE IN PRACHOMKLAO HOSPITAL, PHETCHBURI PROVINCE, OFFICE OF THE PERMANENT SECRETARY OF PUBLIC HEALTH, 2002
ชื่อผู้วิจัยหลัก ภารดี รัตนเจษฎา
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สมชาติ โตรักษา
พีระ ครึกครื้นจิตร
อารมณ์ เฟื่องฟู
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2545
บทคัดย่อ

งานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นงานที่มีความสำ คัญยิ่ง เนื่องจากเป็นงานรักษาพยาบาลที่เร่งด่วนและฉับไว ซึ่งถ้าผู้รับบริการเหล่านั้นได้รับการช่วยเหลือไม่ทันท่วงทีหรือไม่ถูกต้อง จะมีผลทำ ให้ผู้รับบริการเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือเกิดความพิการได้ ผลการดำ เนินงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรีในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ยังไม่สมบูรณ์ทั้งในด้านคุณภาพงาน ความรวดเร็วในการให้บริการและความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ผู้วิจัยจึงได้ทำ วิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนางานขึ้น โดยนำ หลักวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใน

การสร้างรูปแบบการดำ เนินงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี แล้วนำ ไปทดลองใช้เป็นเวลา 3 เดือน ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2545 ใช้โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงครามเป็นกลุ่ม ควบคุม วัดผลการดำ เนินงานก่อนและหลังการนำ รูปแบบที่สร้างขึ้นไปดำ เนินการในด้านผลงาน เวลา ความพึงพอใจ ค่าใช้จ่าย ผลตอบแทน และความคุ้มค่าของการดำ เนินงาน เปรียบเทียบผลการดำ เนินงานด้วยค่าสถิติแมนวิทนี ยู และค่าสถิติที ที่ระดับแอลฟา = 0.05

ผลการวิจัยพบว่า หลังการนำ รูปแบบใหม่ไปดำ เนินการ อัตราความถูกต้องของการเตรียมความพร้อมประจำ เวรก่อนเริ่มปฏิบัติงานในด้านบุคลากรและด้านเอกสารเพิ่มขึ้น (p<0.001 และ p = 0.004 ตามลำ ดับ)ระยะเวลาในการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารับบริการจนกระทั่งได้พบแพทย์ลดลง(p = 0.003) ระดับความพึงพอใจของผู้ให้บริการในเวรดึกเพิ่มขึ้น (p = 0.002) ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการเพิ่มขึ้น (p = 0.001) และต้นทุนในการให้บริการไม่เพิ่มขึ้นสรุปได้ว่า รูปแบบการดำ เนินงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ทดลอง เนื่องจากมีระบบงานที่ชัดเจน มีวิธีการนำ รูปแบบไปดำ เนินการที่ดีเป็นที่ยอมรับจากผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น มีคู่มือปฏิบัติงานที่ง่ายต่อการปฏิบัติ มีการเตรียมผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีการติดตามและการประเมินผลที่ดีในขณะดำ เนินการ ได้เสนอแนะให้ดำ เนินการตามรูปแบบใหม่ต่อไปเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยต้องมีการประเมินผลแล้วนำ ผลที่ได้ไปพัฒนางานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่ง ๆ ขึ้น พร้อมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางสำ หรับการนำ ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการพัฒนา ทั้งงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินและงานอื่น ๆ ของโรงพยาบาลต่อไป

URL
วัตถุประสงค์ พัฒนางานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี สำ นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
 
    พิมพ์หน้านี้