รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2225
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 18/5/2554
ชื่อเรื่องไทย การวิเคราะห์ต้นทุนและต้นทุนต่อหน่วย ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลราชบุรี ปีงบประมาณ 2545.
ชื่อเรื่องอังกฤษ COST AND UNIT COST ANALYSIS OF NEURO-SURGICAL INTENSIVE CARE UNIT IN RATCHABURI HOSPITAL, FISCAL YEAR 2002
ชื่อผู้วิจัยหลัก ศิริพร กตัญญตาพงษ์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สุคนธา คงศีล
พีระ ครึกครื้นจิตร
กาญจนา ติษยาธิคม
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2545
บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนสุทธิและต้นทุนต่อหน่วยของห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลราชบุรี ปีงบประมาณ 2545 และต้นทุน 4 กลุ่มโรคที่พบบ่อย คือ โรคเลือดออกจากความผิดปกตของหลอดเลือดในสมอง โรคเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ โรคเนื้องอกในสมอง และโรคเกี่ยวกับไขสันหลัง เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ในทัศนะของผู้ให้บริการ เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544 – 30 กันยายน 2545 ประชากรที่ศึกษา คือ ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาทและหน่วยงานสนับสนุนจำนวน 15 หน่วยงาน วิธีการกระจายต้นทุนทางอ้อมใช้วิธีการกระจายโดยตรง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูลตามองค์ประกอบของต้นทุน

ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมทางตรงของห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท เท่ากับ 4,505,615.48บาท โดยมีสัดส่วนของต้นทุนค่าแรง:ต้นทุนค่าวัสดุ:ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ75.66:12.09:12.26 ต้นทุนสุทธิ เท่ากับ 7,809,773.89 บาท โดยมีสัดส่วนของต้นทุนรวมทางตรง:นทุนทางอ้อม เท่ากับ 57.69:42.31 ต้นทุนต่อหน่วย ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท เท่ากับ2,700.48 บาทต่อวันนอน และ 91,879.69 บาทต่อราย ต้นทุนต่อหน่วย ใน 4 กลุ่มโรค โรคเลือดออกในสมองจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง โรคเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ โรคเนื้องอกในสมองและโรคเกี่ยวกับไขสันหลัง เท่ากับ 2,727.0, 2,692.29, 4,464.06 และ 2,307.39 บาทต่อวันนอน ตามลำดับและ เท่ากับ 127,301.62, 50,599.26, 17,856.23 และ 311,497.62 บาทต่อรายตามลำดับ

จากผลการศึกษาและประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ผลของการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากกิจกรรมทั้งหมดและการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การวิเคราะห์ต้นทุนจัดเป็นเครื่องมือตรวจสอบการใช้ทรัพยากรงบประมาณ และการใช้แผนกลยุทธ์ ทำให้มองเห็นแนวโน้มและสามารถทำนายการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม หน่วยงานจึงควรศึกษาต้นทุนอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนสุทธิและต้นทุนต่อหน่วยของห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลราชบุรี ปีงบประมาณ 2545
 
    พิมพ์หน้านี้