รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2227
ผู้กรอกข้อมูล Petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 18/5/2554
ชื่อเรื่องไทย ต้นทุนค่ารักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ของโรงพยาบาลรามาธิบดี
ชื่อเรื่องอังกฤษ COST OF TREATMENT FOR TOTAL KNEE ARTHROPLASTY IN OSTEOARTHRITIS PATIENT AT RAMATHIBODI HOSPITAL
ชื่อผู้วิจัยหลัก วันทนา วีระถาวร
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ปิยธิดา ตรีเดช
พีระ ครึกครื้นจิตร
วิไลลักษณ์ วิสาสะ
สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช)
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหิดล(ศิริราช) 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนค่ารักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัด

เปลี่ยนข้อเข่าเทียมของโรงพยาบาลรามาธิบดี ในมุมมองของผู้ให้บริการ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยข้อมูลต้นทุนทางตรงต่อหน่วยบริการผู้ป่วยซึ่งใช้เป็นต้นทุนพื้นฐานในการให้บริการเก็บข้อมูลย้อนหลังในปีงบประมาณ 2545 สำหรับต้นทุนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยเก็บข้อมูลไปข้างหน้าในระยะเวลา 3 เดือนและใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 39 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลตามองค์ประกอบของต้นทุน

ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้งหมด มีระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 6.59 วัน มีต้นทุนค่ารักษาเฉลี่ย 84,419.18 บาท/ราย ประกอบด้วย ต้นทุนพื้นฐาน 4,776.90 บาท/ราย ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล 79,642.28 บาท/ราย โดยมีองค์ประกอบต้นทุนที่มีค่าสูงสุดคือค่าเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีมูลค่าเฉลี่ย 57,200.35 บาท/ราย รองลงมาเป็นค่าผ่าตัดและค่ายา มีมูลค่าเฉลี่ย 9,701.66 บาท/รายและ 6,590.33 บาท/ราย ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยต้นทุนค่ารักษาระหว่างหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์สามัญ (83,905.27 บาท/ราย) และหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์พิเศษ (85,241.45 บาท/ราย) พบว่า ค่าเฉลี่ยของต้นทุนค่ารักษาของหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของต้นทุนค่ารักษาระหว่างผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 83,266.48 บาท/ราย) และผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัว (86,076.20 บาท/ราย) ก็พบว่า ค่าเฉลี่ยของต้นทุนค่ารักษาของผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวกับผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่แตกต่างกันทางสถิติเช่นกัน สำหรับการเปรียบเทียบต้นทุนค่ารักษาในมุมมองของผู้ให้บริการกับค่าบริการที่เรียกเก็บ พบว่า ต้นทุนค่ารักษากับค่าบริการที่เรียกเก็บ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P- value < 0.001) โดยในหอผู้ป่วยพิเศษ มีความแตกต่าง มากกว่า หอผู้ป่วยสามัญ 1.88 เท่าข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการจัดตั้งทีมทำงานในการจัดทำ Critical Pathway, Case

Management, Discharge Planning, การสร้างลักษณะความเป็นเจ้าของและสามัญสำนึกในการทำงานของบุคลากร เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม และคุ้มค่าการลงทุน

URL
วัตถุประสงค์

เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนค่ารักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัด

เปลี่ยนข้อเข่าเทียมของโรงพยาบาลรามาธิบดี ในมุมมองของผู้ให้บริการ
 
    พิมพ์หน้านี้