รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1060
ผู้กรอกข้อมูล
วันที่กรอกข้อมูล 2/6/2553
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม
ชื่อเรื่องอังกฤษ THE DEVELOPMENT OF COMPETENCY SCALE OF STAFF NURSES IN OBSTETRIC AND GYNECOLOGICAL OPERATING ROOM
ชื่อผู้วิจัยหลัก ขนิษฐา แสงไตรรัตน์นุกูล
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ยุพิน อังสุโรจน์
สังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ พยาบาลหัวหน้าห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม และพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค  ได้ค่าความเที่ยงง .98 นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธีหลักหมุนแกนแบบออโธกอนอล  ด้วยวิธีแวริแมกซ์  นำผลที่ได้ไปสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม  จำนวน 3 ชุด แต่ละชุดต่างกันที่ผู้ประเมิน ได้แก่ พยาบาลประจำการประเมินตนเอง หัวหน้าห้องผ่าตัด และพยาบาลผู้ร่วมงาน  โดยใช้แนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา นำข้อมูลที่ได้มาหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน  และหาความสอดคล้องของแบบประเมินระหว่างผู้ประเมิน

 

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

            1.  แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม  ประกอบด้วย 8 ตัวประกอบบรรยายด้วย 61 ตัวแปร  สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 71.48 ได้แก่ 1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการพยาบาลผ่าตัด บรรยายด้วย 12 ตัวแปร   2) ด้านการสื่อสารและจริยธรรมวิชาชีพการพยาบาล บรรยายด้วย 14 ตัวแปร  3) ด้านทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยผ่าตัดทางสูตินรีเวชกรรม บรรยายด้วย 8 ตัวแปร  4) ด้านการบริหารความเสี่ยงในห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม  บรรยายด้วย  6 ตัวแปร   5) ด้านการดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัด บรรยายด้วย 4 ตัวแปร  6) ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยผ่าตัดทางสูตินรีเวชกรรม  บรรยายด้วย 4 ตัวแปร  7) ด้านการประสานงานและมนุษยสัมพันธ์  บรรยายด้วย 4 ตัวแปร และ 8) ด้านการบริหารจัดการ  บรรยายด้วย 9 ตัวแปร

ทั้ง 8 ตัวประกอบ 61 ตัวแปรนี้ นำมาสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม

            2.         พยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม มีสมรรถนะโดยรวมจากการประเมินตนเอง  จากการประเมินโดยหัวหน้าห้องผ่าตัด และจากการประเมินโดยผู้ร่วมงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.03, 3.61, และ 4.05 ตามลำดับ) และระหว่างการประเมินด้วยตนเองกับการประเมินโดยหัวหน้าห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม ไม่มีความสัมพันธ์กัน ( r = .20) ระหว่างการประเมินด้วยตนเองกับการประเมินโดยพยาบาลผู้ร่วมงาน  มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( r = .30) และระหว่างการประเมินโดยหัวหน้าห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรมกับการประเมินโดยพยาบาลผู้ร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

( r = .40)

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องผ่าตัดสูตินรีเวชกรรม
 
    พิมพ์หน้านี้