การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่พยาบาลวิชาชีพในองค์การเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดแรงจูงใจ ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายโซนได้จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลแม่ลาน้อย และโรงพยาบาลสบเมย ในตำแหน่งพยาบาลประจำการกลุ่มการพยาบาล และมีระยะเวลาการปฏิบัติงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจประกอบด้วย แบบวัดกิจกรรมในงาน ประเมินจากพลังอำนาจแบบเป็นทางการ แบบวัดอำนาจประกอบด้วย แบบวัดกิจกรรมในงาน ประเมินจากพลังอำนาจแบบเป็นทางการ แบบวัดสัมพันธภาพในองค์การประเมินจากพลังอำนาจแบบไม่เป็นทางการ และแบบสอบถามสภาพการทำงานที่มีประสิทธิผลประเมินจากการเข้าถึงโครงสร้างงานที่มีการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นแบบวัดของลาสซินเจอร์ซึ่ง อทัย วีระพงษ์สุชาติ (2541) ได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย การวิเคราะห์ข้อมุลใช้แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. พลังอำนาจแบบเป็นทางการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายโซนได้จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในระดับปานกลาง ( µ = 3.13,σ = 0.45)
2. พลังอำนาจแบบไม่เป็นทางการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายโซนได้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในระดับปานกลาง( µ = 3.33,σ = 0.44)
3. การเข้าถึงโครงสร้างงานที่มีการเสริมสร้างพลังอำนาจของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายโซนได้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.04,σ = 0.55)
ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างบรรยากาศองค์การให้มีการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่พยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพต่อไป
|