รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4014
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 29/6/2553
ชื่อเรื่องไทย การพิทักษ์สิทธิผู้คลอดของพยาบาลประจำการในห้องคลอด โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่องอังกฤษ Patient Advocacy by the nurse in the labour room , Yangtalard Hospital , Kalasin Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก ขัติยา ชิณรงค์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ปิยนุช บุญเพิ่ม
พรรณงาม พรรณเชษฐ์
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2544
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การศึกษาอิสระเรื่อง การพิทักษ์สิทธิผู้คลอดของพยาบาลประจำการในห้องคลอดโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการพิทักษ์สิทธิผู้คลอดของพยาบาลประจำการในห้องคลอดโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้คำประกาศสิทธิผู้ป่วย 10 ข้อ เป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล ผู้ศึกษาได้รวบรวมกิจกรรมการพยาบาล ด้านการพิทักษ์สิทธิผู้คลอดตั้งแต่ระยะแรกรับจนกระทั่งจำหน่ายกลับบ้าน ที่มีทั้งหมด 75 กิจกรรม โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และเมื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขตามเสนอแนะแล้ว ได้ให้พยาบาลผู้ปฏิบัติงานในห้องคลอดจำนวน 5 คน นำไปใช้สถานการณ์จริงกับผู้คลอดจำนวน 20 ราย ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2543 ถึงวันที่  30 กรกฎาคม 2543  หลังจากนั้นก่อนจำหน่ายผู้คลอดกลับบ้าน ผู้ศึกษาได้สัมภาษณ์ผู้คลอด ในเรื่อง การได้รับการพิทักษ์สิทธิจากพยาบาล

                ผลการศึกษา พบว่า พยาบาล ได้ปฏิบัติตามแนวทางการพิทักษ์สิทธิผู้คลอด ทั้งหมด 75 กิจกรรม ซึ่งจำนวน 35 กิจกรรมที่สามารถปฏิบัติได้ทุกระยะของการคลอด แสดงให้เห็นว่าการพิทักษ์สิทธิผู้คลอดนั้น สามารถทำได้ทุกระยะ ตั้งแต่แรกรับ จนกระทั่งจำหน่าย แต่เมื่อแบ่งตามระยะต่างๆของการคลอดแล้ว พยาบาลสามารถปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลเหล่านั้นได้ในแต่ละระยะ คือ ระยะรอคลอดจำนวน 47 กิจกรรม แต่มีเพียงบางกิจกรรมเท่านั้น ที่กระทำได้เฉพาะระยะใดระยะหนึ่งเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างเฉพาะเจาะจงในระยะนั้นๆ และจากการสัมภาษณ์ผู้คลอดถึงผลของการได้รับการพิทักษ์สิทธิซึ่งมีทั้งหมด 26 กิจกรรม พบว่า กิจกรรมการพยาบาลส่วนใหญ่ผู้คลอดได้รับการพิทักษ์สิทธิ มีเพียง 6 กิจกรรมเท่านั้นที่ผู้คลอดได้รับการพิทักษ์สิทธิไม่ครบร้อยละ 100 คือ การอธิบายจนเป็นที่เข้าใจก่อนเซ็นใบยินยอม การให้ตรวจสอบความถูกต้องของป้ายข้อมือทารก การบอกกล่าวถึงชนิด ฤทธิ์ และอาการข้างเคียงของยาที่ให้การบอกชื่อ สกุลและตำแหน่งของผู้ให้บริการทุกคน การแนะนำให้ตรวจสอบความถูกต้องก่อนเซ็นรับหนังสือรับรองการเกิด และการแจ้งข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการให้ข้อมูลทั้งสิ้น

                ผลของการศึกษาครั้งนี้ ผู้บริหารโรงพยาบาลสามารถนำไปใช้ประกอบในการกำหนดนโยบาย เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการพิทักษ์สิทธิผู้คลอด และพิจารณาในการจัดอัตรากำลังให้บริการพยาบาล ที่เพียงพอกับจำนวนผู้คลอด ซึ่งจะนำไปสู่การประกันคุณภาพการพยาบาล และการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลต่อไป

 

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแนวทางการพิทักษ์สิทธิผู้คลอดของพยาบาลประจำการในห้องคลอดโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
 
    พิมพ์หน้านี้