การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจำเป็นต้องการการพัฒนาวิชาการสำหรับพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤต ด้านการพยาบาลทั่วไป การพยาบาลเฉพาะ การบริหารงานและการวิจัยทางการพยาบาล และเปรียบเทียบระดับคามจำเป็นต้องการการพัฒนาวิชาการสำหรับพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤต จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและการได้รับการศึกษาอบรมเพิ่มเติมในโรงพยาบาลเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความจำเป็นต้องการการพัฒนาวิชาการสำหรับพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยภาพรวมด้านการพยาบาลเฉพาะและด้านการวิจัยทางการพยาบาลอยู่ในระดับ “ปานกลาง” ส่วนคาวมจำเป็นต้องการการพัฒนาวิชาการ ด้านการพยาบาลทั่วไปและการบริหารงานอยู่ในระดับ “น้อย”
2. ความจำเป็นต้องการการพัฒนาวิชาการสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ในหอผู้ป่วยวิกฤตจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน 1 ปี มีความจำเป็นต้องการการพัฒนาวิชาการ “มากกว่า” พยาบาลที่มีประสบการณ์การทำงาน 4 – 5 ปี
3. ความจำเป็นต้องการการพัฒนาวิชาการสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ในหอผู้ป่วยวิกฤตในรายด้าน จำแนกตามการได้รับการศึกษาอบรมเพิ่มเติม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กล่าวคือ ความจำเป็นต้องการการพัฒนาวิชาการ ด้านการพยาบาลที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมเพิ่มเติมด้านการพยาบาลเฉพาะ “มากกว่า” พยาบาลที่ได้รับการศึกษาอบรมเพิ่มเติม
|