รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1178
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 2/7/2553
ชื่อเรื่องไทย ประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
ชื่อเรื่องอังกฤษ AN EXPERIENCE OF PARTICIPATION IN KNOWLEDGE MANAGEMENT FOR NURSING SERVICES QUALITY DEVELOPMENT OF PROFESSIONAL NURSES
ชื่อผู้วิจัยหลัก คงขวัญ บุณยรักษ์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
อารีย์วรรณ อ่วมตานี
สังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2551
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมายและประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฎการณ์วิทยา ตามแนวคิดของ Husserl การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลคือพยาบาลวิชาชีพที่มีส่วนร่วมใน การจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง และเป็นสมาชิกในชุมชนนักปฏิบัติ จำนวน 12 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการสังเกตและบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตามวิธีการของ Colaizzi ผลการศึกษา มีดังนี้

1.       ความหมายการมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 2 ประเด็นคือ

1.1    บอกเล่าประสบการณ์จากสิ่งที่ทำ

1.2    นำสิ่งที่เรียนรู้ สู่การปฏิบัติจริง

2.       ประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ แบ่งเป็น 6 ประเด็นหลัก คือ

            เริ่มต้นเข้าร่วมชุมชน ด้วยเหตุที่ต่างกัน

            ประชุมครั้งแรก เหมือนคนแปลกหน้า ต้องใช้เวลาสร้างความเข้าใจ

            กิจกรรมใน CoP ปรับเปลี่ยนได้ไม่มีรูปแบบใด ที่ใช้ตายตัว

            ประสบการณ์ที่ได้รับ นำมาปรับใช้ได้หลากหลาย แบ่งเป็น 4 ประเด็นย่อยคือ

1)       เกิดประโยชน์ส่วนตน 2)ส่งผลถึงหน่วยงาน 3) เล่าขานผ่านสื่อ และ

4) ร่วมมือสร้างเครือข่าย

                                       2.5  อุปสรรคมีมากมาย ทำให้เบื่อหน่ายการเข้ากลุ่ม

                                       2.6  หน่วยงานต้องทุ่มทุน พร้อมเกื้อหนุนกำลังใจ

 

                จากผลการศึกษานี้ ทำให้เข้าใจประสบการณ์การมีส่วนร่วมในชุมชนนักปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพข้อมูลนี้ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนส่งเสริมและสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพมีกระตือรือร้นในการเข้าร่วมในชุมชนนักปฏิบัติต่อไป

URL
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมายและประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
 
    พิมพ์หน้านี้