รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4037
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 9/7/2553
ชื่อเรื่องไทย การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่หนึ่งของการคลอด
ชื่อเรื่องอังกฤษ Establishment of Standard of Nursing Care in First Stage of Labour
ชื่อผู้วิจัยหลัก ยูริสา แสนทูม
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล
นิลุบล รุจิรประเสริฐ
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2543
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่หนึ่งของการคลอดผู้ศึกษาได้สร้างมาตรฐานการพยาบาลโดยใช้ขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล โดยใช้พยาบาลผู้ปฏิบัติงานในห้องคลอดทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรฐานการพยาบาล และตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาตามเทคนิคของเมสัน (Mason, 1984) โดยผู้เชี่ยวชาญจาก 3 แห่ง จำนวน 4 คน หลังจากนั้นนำมาตรฐานการพยาบาลที่ได้ปรับปรุงแล้วไปปฏิบัติจริงเพื่อหาความเที่ยงตามเทคนิคของเมสัน (Mason, 1984) ในกลุ่มผู้คลอดที่อยู่ในระยะที่หนึ่งของการคลอด ทั้งครรภ์แรกและครรภ์หลัง ที่มีอายุครรภ์ 40 ± 2 สัปดาห์ จำนวน 10 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด โรงพยาบาลพังโคนจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของเมสัน

                ผลการศึกษา ได้มาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่หนึ่งของการคลอดที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงแล้ว จำนวน 7 มาตรฐาน ประกอบด้วยมาตรฐานเชิงกระบวนการ ซึ่งหมายถึงกิจกรรมการพยาบาลที่ปฏิบัติต่อผู้คลอด จำนวน 91 ข้อ มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ ซึ่งหมายถึง ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผู้คลอดภายหลังได้รับกิจกรรมการพยาบาล ตามมาตรฐานเชิงกระบวนการ จำนวน 44 ข้อ มาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่หนึ่งของการคลอด มี 7 มาตรฐาน ดังต่อไปนี้

มาตรฐานที่ 1        ผู้คลอดปลอดภัยจากการคลอดยาวนานในระยะที่หนึ่งของการคลอด

มาตรฐานที่ 2        ผู้คลอดปลอดภัยจากการติดเชื้อในระยะที่หนึ่งของการคลอด

มาตรฐานที่ 3        ผู้คลอดสามารถเผชิญความเจ็บปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอดได้อย่างเหมาะสม

มาตรฐานที่ 4        ผู้คลอดได้รับสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์อย่างเพียงพอ

มาตรฐานที่ 5        ผู้คลอดได้รับความสุขสบายด้านร่างกายและปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

มาตรฐานที่ 6        ผู้คลอดได้รับการตอบสนองทางด้านจิตใจ  อารมณ์ และสังคม

มาตรฐานที่ 7        ทารกได้รับการประเมินสภาพ และปลอดภัยจากภาวะขาดออกซิเจน (Fetal distress)

                ผลของการนำมาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่หนึ่งของการคลอดสู่การปฏิบัติ พบว่า มาตรฐานเชิงกระบวนการ และมาตรฐานเชิงผลลัพธ์ ส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติได้จริง และเกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกทุกครั้ง มีส่วนน้อยที่มาตรฐานเชิงกระบวนการปฏิบัติไม่ได้ครบทุกครั้ง เนื่องจาก จำนวนบุคลากรมีน้อย ไม่เพียงพอกับผู้มารับบริการ ดังนั้นในการนำมาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่หนึ่งของการคลอดที่สร้างขึ้นนี้ ไปใช้ในห้องคลอดของสถานบริการสาธารณสุขอื่นๆนั้น ลักษณะโครงสร้างของหน่วยงานควรมีลักษณะคล้ายคลึงกัน และควรมีการทดสอบความเที่ยงตามเทคนิคของเมสันอีกครั้งก่อนนำไปใช้

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่หนึ่งของการคลอด
 
    พิมพ์หน้านี้