Normal
0
false
false
false
EN-US
X-NONE
TH
MicrosoftInternetExplorer4
การศึกษาครั้งนี้
เป็นการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานหน่วยจ่ายกลาง ของโรงพยาบาลบึงกาฬ
จังหวัดหนองคาย การดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ระยะดำเนินการ
และระยะประเมินผล ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2542 ถึง เดือน สิงหาคม
2543
การดำเนินการศึกษาทำโดยการสำรวจ
สังเกต สรุปปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของหน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลบึงกาฬ
จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนางานหน่วยจ่ายกลาง
และร่วมประชุมปรึกษาหารือกับผู้ศึกษาเพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานหน่วยจ่ายกลาง
จนได้แนวทางในการพัฒนางานใหม่ จึงจัดทำโครงการพัฒนางานหน่วยจ่ายกลาง
โรงพยาบาลบึงกาฬ จังหวัดหนองคายขึ้น
แล้วดำเนินการพัฒนางานและเริ่มเปิดให้บริการตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนดขึ้น
ตั้งแต่เดือน มกราคม 2543 ถึง กรกฎาคม 2543 รวมระยะเวลาในการให้บริการ 7 เดือน
จึงทำการประเมินผลการพัฒนางานหน่วยจ่ายกลางในเดือน สิงหาคม 2543
ตามแบบประเมนผลการพัฒนางานหน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลบึงกาฬ
กลุ่มประชากรผู้ตอบแบบประเมินผลเป็นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานหน่วยจ่ายกลางทั้งหมด
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ คณะกรรมการพัฒนางานหน่วยจ่ายกลางจำนวน 9 คน
และผู้ให้บริการ จำนวน 6 คน รวมเป็นจำนวน 15 คน
โดยตอบแบบประเมินผลด้านการบริหารจัดการด้านระบบงานและกระบวนการให้บริการ
กลุ่มที่สอง คือ ผู้ใช้บริการ จำนวน 58 คน
โดยตอบแบบประเมินผลด้านระบบงานและการะบวนการให้บริการเท่านั้น วิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการตอบแบบประเมินผล
โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
1.
มีโครงสร้างระบบการบริหารงานของงานหน่วยจ่ายกลาง
โรงพยาบาลบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ที่เหมาะสมต่อขอบเขตของงานที่กำหนดขึ้น
2.
มีระบบงานหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาลบึงกาฬ
จังหวัดหนองคาย ที่มีมาตรฐานการทำงานเฉพาะของหน่วยงานที่เหมาะสม
ตอบสนองต่อนโยบาลของโรงพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้โรงพยาบาลบึงกาฬ เป็นโรงพยาบาลคุณภาพ
โดยให้บริการในลักษณะที่เป็นศูนย์รวมการบริการเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน
6 หน่วยงาน คือ งานผู้ป่วยนอก งานผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน งานห้องคลอด
และงานผู้ป่วยในจำนวน 3 ตึก
3.
ค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในปีงบประมาณ
2543 ลดลงจากปีงบประมาณ 2542 คิดเป็นร้อยละ 43.84
(เปรียบเทียบเฉพาะช่วงที่ทำการศึกษา)
4.
สถิติผู้ป่วยติดเชื้อจากการทำหัตถการต่าง
ๆ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนกรกฎาคม 2543 พบว่าไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อ
5.
คะแนนความคิดเห็นในด้านการบริหารจัดการ
ด้านระบบงานและกระบวนการให้บริการของคณะกรรมการพัฒนางานหน่วยจ่ายกลาง
โรงพยาบาลบึงกาฬ และของผู้ให้บริการอยู่ในระดับสูง
6.
คะแนนความคิดเห็นในด้านระบบงานและกระบวนการให้บริการ
ของผู้ใช้บริการงานหน่วยจ่ายกลาง โรงพยาบาลบึงกาฬ อยู่ในระดับสูง
|