รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 3033
ผู้กรอกข้อมูล บุญพิชชา จิตต์ภักดี
วันที่กรอกข้อมูล 7/8/2553
ชื่อเรื่องไทย ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอังกฤษ THE RELATIONSHIPS BETWEEN PERSONAL FACTORS AND PARTICIPATIVE MANAGEMENT ABILITY WITH DECISION MAKING ABILITY OF NURSING ADMINISTRATORS IN COMMUNITY HOSPITALS UNDER THE JURISDICTION OF PUBLIC HEALTH
ชื่อผู้วิจัยหลัก ณัฐธยาน์ ใจคำปัน
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
เรณา พงษ์เรืองพันธุ์
อาภา หวังสุขไพศาล
สังกัด มหาวิทยาลัยบูรพา
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยบูรพา 
   
ปี 2544
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการตัดสินใจและความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน เปรียบเทียบความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาล จำแนกตามระดับการบริหาร และขนาดองค์กร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ปฏิบัติงาน และความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วม กับความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาล และศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนจำนวน 360 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ได้แก่ ทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.ความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วมและความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนอยู่ในระดับสูง ( mean = 3.93, mean  = 3.91)

            2. ผู้บริหารการพยาบาลระดับหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนมีความสามารถในการตัดสินใจสูงกว่าผู้บริหารการพยาบาลระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            3. ผู้บริหารการพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียงขึ้นไป และโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง มีความสามารถในการตัดสินใจสูงกว่าผู้บริหารการพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง รวมทั้งผู้บริหารการพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียงขึ้นไปมีความสามารถในการตัดสินใจสูงกว่าผู้บริหารการพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            4. ประสบการณ์ปฏิบัติงานในตำแหน่งและความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            5.ความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นตัวทำนายความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนได้ร้อยละ 57 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            เขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Ý = 1.80 + 0.54 ( ความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วม)

 

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความสามารถในการตัดสินใจและความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน เปรียบเทียบความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาล จำแนกตามระดับการบริหาร และขนาดองค์กร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ปฏิบัติงาน และความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วม กับความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาล และศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารการพยาบาล
 
    พิมพ์หน้านี้