การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดในบทบาทของหัวหน้าหอผู้ป่วย
พฤติกรรมการเผชิญความเครียดของหัวหน้าหอผู้ป่วย และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการเผชิญความเครียด กับความเครียดในบทบาทของหัวหน้าหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง หัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 285 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.
ความเครียดในบทบาทโดยรวมของหัวหน้าหอผู้ป่วย และในด้านความคลุมเครือในบทบาทและด้านความไม่เหมาะสมในบทบาทอยู่ในระดับต่ำ
ส่วนด้านความคาดหวังในบทบาทมากเกินไปและด้านความขัดแย้งในบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง
2.
พฤติกรรมการเผชิญความเครียดของหัวหน้าหอผู้ป่วยด้านการจัดการกับปัญหาอยู่ในระดับมาก ด้านการบรรเทาปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการจัดการกับอารมณ์อยู่ในระดับน้อย
3.
ระยะเวลาปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย
มีความสัมพันธ์กับความเครียดในบทบาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
อายุและรายได้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย
ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในบทบาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. การสนับสนุนทางสังคมจากผู้ร่วมงานและจากเพื่อน
มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในบทบาทโดยรวมของหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 ส่วนการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชาและจากครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในบทบาทโดยรวมของหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
5.
พฤติกรรมการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับอารมณ์และด้านการบรรเทาปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียดในบทบาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 ส่วนพฤติกรรมการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับปัญหาไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในบทบาทของหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
|