การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัด
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยด้านการทำงานกับความเครียด
และศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือ
พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย จำนวน 80
คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม 2 ส่วน
ซึ่งแบ่งเป็นปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยด้านการทำงาน และแบบประเมินความเครียดของ
พิมผกา สุขกุล มาใช้เป็นแบบสอบถาม
โดยผู้วิจัยได้หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัจจัยด้านการทำงานเท่ากับ .82 และแบบประเมินความเครียดเท่ากับ .97
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์และสมการถดถอยหพุคูณ
แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.ความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สภากาชาดไทยอยู่ในระดับที่มีความเครียดน้อย
2.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความเครียดพบว่า
อายุและระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดไม่มีความสัมพันธ์กัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
แต่สถานภาพสมรสโสดมีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับปานกลางกับความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัด
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สถานภาพสมรสคู่มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01
3.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการทำงานกับความเครียด พบว่า ลักษณะงาน
สภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน
การบริหารและการสนับสนุนในหน่วยงานไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 แต่สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงานมีความสัมพันธ์ในทางลบระดับต่ำกับความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
4.ตัวแปรที่สามารถทำนาย ความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัด
ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คือสถานภาพสมรสโสด
สามารถทำนายความเครียดของพยาบาลห้องผ่าตัดได้ร้อยละ 10 ได้สมการทำนายในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
ความเครียด =
.477 + .261 (สถานภาพสมรสโสด)
|