การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วย งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 169 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้วัดความพึงพอใจเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ .95 สถิติที่ใช้ ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทำการทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่วิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
1.ควมพึงพอใจในบริการของผู้ป่วย งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มีความพึงพอใจในบริการโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับสูงทั้ง 6 ด้าน
2.ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยเพศชาย และเพศหญิง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3.ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาปัจจุบันแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในบริการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4.ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001 โดยผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา / อนุปริญญา มีความพึงพอใจในบริการสูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษา อาชีวศึกษา / อนุปริญญา มีความพึงพอใจในบริการสูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
5.ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001 โดยผู้ป่วยที่เป็นนักเรียน/นักศึกษา มีความพึงพอใจในบริการสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอาชีพรับราชการ
6.ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยที่มีสิทธิในการรักษาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001 โดยผู้ป่วยที่มีสิทธิประกันสังคม สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท มีความพึงพอใจในบริการสูงกว่าผู้ป่วยที่มีสิทธิเบิกได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
7.ความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท ที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในบริการไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในบริการ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษาอาชีวศึกษา/อนุปริญญา มัธยมศึกษา มีความพึงพอใจในบริการสูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี
|