การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของพยาบาลใหม่ที่ใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ กับไม่ใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง
กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลใหม่ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม
หอผู้ป่วยสูติกรรมติดเชื้อ หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย
หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง
หออภิบาลกุมาร
หออภิบาลทารกแรกเกิดและคลอดก่อนกำหนด
หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก จำนวน 20 คน
โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2
ชุด ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ดำเนินการทดลองคือ คู่มือรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ
แบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงแล้วได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ
.97 วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทำวิเคราะห์ค่าที ( t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ที่ใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่สูงกว่าความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ที่ไม่ใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
|