การศึกษาเชิงคุณภาพแบบปรากฎการณ์วิทยาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยาย
ประสบการณ์พฤติกรรมผู้นำของบริหารทางการพยาบาลต่อโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ( 30 บาทรักษาทุกโรค)
โรงพยาบาลชุมชน จ.ชลบุรี
ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน
จ.ชลบุรี จำนวน 7
ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการจัดการสนทนากลุ่ม
ระหว่างเดือนมีนาคม 2545 – ตุลาคม 2545 ผลการศึกษาพบว่า
ปรากฎการณ์การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถสรุปได้ดังนี้
ประสบการณ์การเตรียมการดำเนินการโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า
(
30 บาทรักษาทุกโรค) ของผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยการเตรียมความพร้อม 5 ด้าน คือ 1) การเตรียมตนเอง 2) การเตรียมอัตรากำลัง 3) การเตรียมระบบงาน 4) การเตรียมบุคลากร และ 5) การทดลองโครงการนำร่อง
ประสบการณ์ที่พบปัญหาและการแก้ไขในการดำเนินการโครงการ
ฯ ของผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย
ปัญหา ได้แก่ 1)
ประชาชนรู้แต่สิทธิไม่รู้หน้าที่ เข้าใจเนื้อหาโครงการฯ ไม่ครอบคลุม 2)
บุคลากรบางส่วนไม่เห็นด้วยและไม่อยากเปลี่ยนแปลง
3) ภาระงานเพิ่มมากขึ้น 4)
ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ
5) งบประมาณไมเพียงพอ
โรงพยาบาลขาดทุน 6) พยาบาลวิชาชีพไม่เพียงพอ 7) ระบบฐานข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ
8)
ประชาชนบางส่วนไม่สามารถทำบัตรทองได้ 9) แพทย์ไม่เพียงพอ 10)
การบริหารจัดการเรื่องบุคลากรหน่วยบริการปฐมภูมิ
การแก้ปัญหา ได้แก่ 1)
เร่งประชาสัมพันธ์แนะนำและให้ข้อมูลกับประชาชนผู้รับบริการ 2)
กระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดความกระตือรือร้นในการดำเนินการโครงการ ฯ โดยการชี้แจงและให้ข้อมูล 3)
จูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดการยอมรับและยินดีให้ความร่วมมือในการดำเนินการโครงการฯ
โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น 4)
ช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชาโดยการเป็นพี่เลี้ยงในการสอนและฝึกปฏิบัติ
เป็นที่ปรึกษาแนะนำในการแก้ปัญหา เป็นผู้ประสานช่วยลดความขัดแย้ง
เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับและตอบสนองโครงการฯ 5)
เร่งงานส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสภาพ
และการป้องกันโรคของประชาชน 6) นิเทศ ติดตาม
ประเมินผลการดำเนินการโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง
7)
พัฒนาบุคลากร 8)
เสนอแนะปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้เอง
ไปยังผู้บริหารระดับสูงขึ้นและหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง
|