การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนค่าแรงของบุคลากรทางการพยาบาลต่อหน่วยของการให้บริการ เวลาและการปฏิบัติการพยาบาลทางตรงที่ผู้ป่วยได้รับจากบุคลากรทางการพยาบาล และเวลาการปฏิบัติการพยาบาลทางอ้อมที่บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติ รวมทั้งต้นทุนค่าแรงบุคลากรทางการพยาบาลต่อเวลาการปฏิบัติการพยาบาล โดยศึกษาข้อมูลทางการเงิน เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลตามประเภทผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ ในหอผู้ป่วยใน 3 โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนค่าแรงของพยาบาลวิชาชีพ1.60 บาท/นาที พยาบาลเทคนิค 0.96 บาท / นาที พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ 0.55 บาท /นาที ต้นทุนค่าแรงต่อหน่วยบริการพยาบาลวิชาชีพ 607.68 บาท/ราย หรือ 233.40 บาท/วันนอน พยาบาลเทคนิค 60.96 บาท /ราย หรือ 23.41 บาท / วันนอน พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ 87.17 บาท/ราย หรือ 33.48 บาท / วันนอน ในระยะเวลา 8 ชั่วโมง ผู้ป่วยประเภทที่ 1 (ระยะวิกฤต) ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลทางตรง 157.28 นาที คิดเป็นต้นทุนค่าแรง 209.73 บาท ผู้ป่วยประเภทที่ 2 (กึ่งวิกฤต) ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลทางตรง 152.98 นาที คิดเป็นต้นทุนค่าแรง 176.65 บาท ผู้ป่วยประเภทที่ 3 (เจ็บป่วยปานกลาง) ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลทางตรง 86.17 นาที คิดเป็นต้นทุนค่าแรง 100.72 บาท ผู้ป่วยประเภทที่ 4 (ระยะพักฟื้น) ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลทางตรง 41.03 นาที คิดเป็นต้นทุนค่าแรง 52.49 บาท และพบว่าพยาบาลวิชาชีพใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อม 291.26 นาที คิดเป็นต้นทุนค่าแรง 465.99 บาท พยาบาลเทคนิคใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อม 241.36 นาที คิดเป็นต้นทุนค่าแรง 231.70 บาท พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อม 234.16 นาที คิดเป็นต้นทุนค่าแรง 128.78 บาท บุคลากรทางการพยาบาลใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อมรวม 766.78 นาที หรือ 12.77 ชั่วโมง คิดเป็นต้นทุนค่าแรง 826.47 บาท ผลการศึกษาทำให้ทราบต้นทุนค่าแรงต่อเวลาการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งสามารถนำไปประกอบการบริหารจัดการทางการพยาบาลในโรงพยาบาลต่อไป
|