รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 3125
ผู้กรอกข้อมูล บุญพิชชา จิตต์ภักดี
วันที่กรอกข้อมูล 17/8/2553
ชื่อเรื่องไทย การศึกษาชุดข้อมูลจำเป็นทางการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
ชื่อเรื่องอังกฤษ A STUDY OF NURSING MINIMUM DATA SET IN INPATIENTS DEPARTMENT OF QUEEN SA WANGWATTANA MEMORIAL HOSPITAL AT SRIRACHA
ชื่อผู้วิจัยหลัก ชื่นฤทัย ยี่เขียน
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
จุฬาลักษณ์ บารมี
อารีรัตน์ ขำอยู่
สังกัด มหาวิทยาลัยบูรพา
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยบูรพา 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา   โดยการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุดข้อมูลจำเป็นทางการพยาบาล (NMDS) ผู้ป่วยใน กำหนดโดยสมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา  โดยใช้แบบบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยงภายใน โดยหาความตรงกันของการให้รหัส คิดเป็นร้อยละ  94.4 รวบรวมข้อมูลองค์ประกอบทางการพยาบาล โดยใช้ระบบการจำแนกการปฏิบัติการพยาบาล (ICNP) ฉบับเบตา   แปลและเรียบเรียง โดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ และข้อมูลปริมาณความต้องการการพยาบาล (nursing intensity) โดยใช้ระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วย ตามวิธีของวาสเลอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็น เวชระเบียนผู้ป่วยในจำนวน 377 ฉบับ โดยสุ่มจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1  ตุลาคม  2544 – 30  กันยาย  2545 ทั้งหมด  18,565 ฉบับ

            ผลการวิจัยพบว่าเวชระเบียนผู้ป่วยในทั้งหมด 377 ฉบับ มีความไม่สมบูรณ์ของ  NMDS  คิดเป็นร้อยละ 99.2 โดยมีความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลองค์ประกอบทางการบริหารการบริการ คิดเป็นร้อยละ  98.1 มีความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ   60.5   และมีความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลองค์ประกอบทางการพยาบาลคิดเป็นร้อยละ  6.1

            ผลการวิจัยพบว่า จำนวนข้อการวินิจฉัยทางการพยาบาลต่อราย โดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.8 ข้อ จำนวนข้อกิจกรรมการพยาบาลต่อราย โดยเฉลี่ยเท่ากับ  7.7 ข้อ ในการใช้ ICNP ให้รหัสการวินิจฉัยทางการพยาบาลได้คิดเป็นร้อยละ  86.2 ให้รหัสกิจกรรมการพยาบาลได้คิดเป็นร้อยละ  99.2 ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ประเมินได้จากการวินิจฉัยทางการพยาบาล คิดเป็นร้อยละ  80.5 โดยเป็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ  99.3 ผลลัพธ์คงเดิมคิดเป็นร้อยละ  0.7 และไม่มีผลลัพธ์ที่แย่ลง ข้อมูลที่ให้รหัสตาม  ICNP ได้ นำมาอธิบายองค์ประกอบทางการพยาบาลได้ชัดเจน การใชh ICNP พบว่าโครงสร้างรหัสอาจทำให้บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาด คำศัพท์ในแกนการตัดสินเข้าใจยาก และควรมีการกำหนดกฎเกณฑ์ของการให้รหัสในแกนชนิดของการกระทำ

            ปริมาณความต้องการการพยาบาลผู้ป่วยต่อวันในการศึกษานี้พบว่า ผู้ป่วยในมีความต้องการพยาบาลอยู่ในช่วง  1.8 – 12.0 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย  4.8 ชั่วโมง ปริมาณความต้องการการพยาบาลในการศึกษานี้ สอดคล้องกับค่ำน้ำหนักสัมพัทธ์ของผู้ป่วยในตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม จำนวนวันนอนพักรักษาในโรงพยาบาลและการศึกษากรอบอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลประจำปี พ.ศ. 2546 ยกเว้นผู้ป่วยงานการพยาบาลสูติ – นรีเวชกรรม  ซึ่งมีปริมาณความต้องการการพยาบาลผู้ป่วยต่อวันที่มากกว่า

 

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชุดข้อมูลจำเป็นทางการพยาบาล (NMDS) ผู้ป่วยใน กำหนดโดยสมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา  โดยใช้แบบบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยงภายใน โดยหาความตรงกันของการให้รหัส คิดเป็นร้อยละ  94.4 รวบรวมข้อมูลองค์ประกอบทางการพยาบาล โดยใช้ระบบการจำแนกการปฏิบัติการพยาบาล (ICNP) ฉบับเบตา   แปลและเรียบเรียง โดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ และข้อมูลปริมาณความต้องการการพยาบาล (nursing intensity) โดยใช้ระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วย ตามวิธีของวาสเลอร์
 
    พิมพ์หน้านี้