Search
ค้นหาผลงานวิจัย

Counter
Links
       
  ชื่อบทความ (ภาษาไทย) : ข่าวสารศูนย์นโยบายและผลลัพธ์ทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กันยายน-ธันวาคม 2552  
  ชื่อบทความ (ภาษาอังกฤษ) :  
   
       
 

นโยบาย (Policy) หมายถึง แผนหรือแนวทางการกระทำของรัฐบาล พรรคการเมือง หรือภาคธุรกิจที่กระทำ หรือเกิดสาระอื่นๆ นโยบายยังหมายถึงการบัญญัติ วิธีการกระทำ กฎ หลักการที่กำหนดขึ้นโดย ภาครัฐ เอกชน หรือ โดยบุคคล(Concise Oxford Dictionary, as cited in McVey, 2000)

นโยบายสาธารณะ (Public Policy) คือนโยบายที่สร้างขึ้นโดยองค์กรภาครัฐบาล (Mason, Leavitt, &Chaffee,2007) กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเป็น กระบวนการที่ซับซ้อน มีจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดไม่ชัดเจน นโยบายเป็น กระบวนการไม่ใช่เพียงแค่คำประกาศ ดังนั้นนโยบายสาธารณะเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน กลับไปกลับมาและเป็นเวทีการต่อสู้ทางความคิดที่ไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งนี้เนื่องจากการมีบุคคล องค์การและสถาบันต่างๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องมากมาย

นโยบายสุขภาพ (Health Policy) คือการตัดสินใจหรือการกระทำที่ตั้งใจเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสุขภาพโดยตรง และนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี (Healthy Public Policy) คือการตัดสินใจหรือการกระทำใดๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของคนในสังคมหรือให้มีการคำนึงถึงสุขภาพ ขณะที่คำจำกัดความขององค์การ อนามัยโลก (อ้างโดยปติพงษ์และอนุพงศ์, 2543) นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหมายถึง “นโยบายสาธารณะที่แสดงความห่วงใยอย่า งชัดเจนเรื่องสุขภาพและพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลกระทบทางด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดจากนโยบายนั้น ขณะเดียวกันก็เป็นนโยบายที่มุ่ง สร้างสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และมุ่งให้ พลเมืองมีทางเลือกและสามารถเข้าถึงทางเลือกที่ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดีได้” จะเห็นได้ว่า “นโยบายสุขภาพ” เป็น สิ่งที่เป็น นามธรรม แต่เมื่อนำไปสู่การปฎิบัติจะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างจึงพบว่านิยามของนโยบายสุขภาพจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองและวัตถุประสงค์ของผู้นิยาม ขณะที่นักวิชาการสาธารณสุขมองนโยบายสุขภาพเป็นเรื่องของสิ่งที่มีผลต่อปัจจัย ทางสุขภาพ ในการยกระดับสถานะสุขภาพของประชากรโดยรวม แพทย์ผู้ให้บริการก็อาจมองว่า เป็นกฎระเบียบเพื่อควบคุมการให้บริการทางสุขภาพ เป็นต้น นักวิชาการบางท่านได้นิยามนโยบายสุขภาพไว้ว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (process) และ อำนาจ(Power) เนื่องจากเป็นเรื่องของคนหรือกลุ่มคนที่ไปสร้างผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่ออีกคนหรืออีกกลุ่มคน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพตามที่ต้องการในมุมมองดังกล่าว

ส่วนประกอบสำคัญของนโยบายจึงได้แก่ กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ กระบวนการหรือวิธีการที่ใช้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
นโยบายสุขภาพที่ดีนั้น นอกจากจะเป็นประโยชน์ในแง่การยกระดับสถานะทางสุขภาพของประชาชนโดยตรงแล้ว ยังช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาค ช่วยกระจายความเจริญและความมั่งคั่ง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม การพัฒนาให้เกิดกลไกและกระบวนการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

กระบวนการนโยบายสาธารณะ ประกอบด้วย 3 ระยะ ดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 ขั้นก่อตัวนโยบาย (Policy formulation phase)

ระยะนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ การกำหนดประเด็นปัญหา (Agenda setting) องค์ประกอบคือ ตัวปัญหา (Problem) ทางเลือกในการแก้ปัญหาและบรรยากาศทางการเมือง และส่วนที่สองคือ การพัฒนากฎหมาย (Development of Legislation) ซึ่งขั้นก่อตัวนโยบายนี้จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัย หน้าต่างแห่งโอกาส ที่จะ เปิดให้การมาบรรจบกันขององค์ประกอบต่างๆเป็นไปอย่างดี

ระยะที่ 2 ขั้นนำเอานโยบายไปปฎิบัติ (Policy Implementation)ระยะนี้ประกอบด้วย การสร้างกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายและการนำไปปฎิบัติ และมีการกำหนดกิจกรรมด้วยว่าสิ่งที่ควรทำคืออะไร เพื่อให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบข้อบังคับต่างๆที่กำหนดขึ้น

ระยะที่ 3 คือการปรับเปลี่ยนนโยบาย (Policy Modification)ระยะนี้ นโยบาย กฎ ระเบียบข้อบังคับต่างๆที่องค์กรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้นำเอาไปใช้แล้วเกิดผลกระทบทั้งในทาง บวกและทางลบที่อาจส่ง ผลต่อ การปรับเปลี่ยนนโยบายได ผู้ที่มีสวนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะทั้งที่เป็น ทางการ และ ไม่เป็น ทางการต่างก็สามารถที่จะมีอิทธิพล ในการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนได้ ที่ผานมาพบว่า พยาบาลจะเป็น กลุ่ม วิชาชีพที่มีส่วนร่วมน้อ ยในกระบวนการกำหนดนโยบายและกระบวนการทางการเมืองระดับชาติ

เอกสารอ้างอิง

วิภาดา คุณาวิกติกุลและคณะ. (2551). ความรู้และการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับนโยบายสุขภาพแห่งชาติ. เชียงใหม่.นพบุรีการพิมพ์, 11-13.

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐและคณะ. (2547) การวิจัยนโยบายสุขภาพ. จาก http://www.kmnrct.nrct.go.th/healthstategic/pdf/2547/enabling/01e.pdf.Mason, D.J., Leavitt, J.K., & Chaffee, M. W. (Ed.). (2007). Policy politics in nursing and healthcare.

St.Louis: Saunders.McVey, M.L. V-T. (2000). Policy development. Complementary Therapies in Nursing & Midwifery, 6,50-55.

เอกสารประกอบบทความวิจัย

 
       
  แก้ไขล่าสุด    30 เมษายน 2553